วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การ์ดเครือข่าย

การ์ดเครือข่าย
การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN


เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbpsซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

วิธีการต่อสาย LAN

1. ก่อนอื่นให้คุณตัดฉนวน PVC ที่หุ้มสายออกโดยให้ตัดห่างจากปลายสายเข้ามาประมาณครึ่งนิ้ว (17/32 นิ้ว)
2. จากนั้นตัดสาย Shieled ที่มีลักษณะเป็นร่างแหชั้นที่ 2 ออก โดยตัดให้ห่างจากปลายสายเข้ามา 8/32 นิ้ว หรือ 1/4 นิ้ว
3. จากนั้นให้คุณตัดฉนวนสีขาวชั้นในออก โดยตัดให้ห่างจากปลายสายเข้ามาประมาณ 6/32 นิ้ว

4. หลังจากที่เตรียมสายเสร็จแล้ว ให้คุณนำตัว BNC Connector หรือขั้วต่อมาเชื่อมต่อ โดยขั้วต่อจะมีส่วนประกอบทั้งหมด 3 ส่วนดังนี้
5. ให้คุณนำเอาสายที่ได้เตรียมไว้สวมเข้าไปในส่วนที่ 1 ไว้ก่อน
6. นำส่วนที่ 2 ที่มีลักษณะเป็นเข้มเล็กๆมาสวมกับสายที่ได้เตรียมไว้ หากคุณตัดสายได้ตามสัดส่วนที่กำหนดสายจะพอดีหัวขั้ว
7. นำสายไปเสียบกับหัวขั้วส่วนที่ 3 แล้วเลื่อนปลอกเข้ามาให้ชิดกับหัวขั้วและใช้คีมบีบปลอกให้ยึดติดกับหัวขั้วและสาย
8. ทำตามขั้นตอนกับสายอีกด้านก็จะได้สายที่พร้อมใช้งาน 1 เส้น

อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ โดยมีเนื้อหา เกี่ยวกับ Hub ,Swich, Gateway ,Modem ,Router ,Bridge ,Repeater

อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ

ฮับ (HUB)

 
เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น การ์ดมีความเร็ว 100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้ แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

Swich (สวิตซ์)   คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ 2 Swich บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Swichเพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง
 
 
 
 
 
 
Swich จะฉลาดกว่า Hub คือ Swichสามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่า นั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกัน และกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการส่งข้อมูล หรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Swich คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของ Swich

Gateway

            เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway
ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch



Modem (โมเด็ม)
โมเด็มมาจากคำว่า MOdulator/DEModulator โดยแยกการทำงานออกเป็น Modulation คือการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ และ Demodulation คือการเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอะนาลอกอยู่ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้าของ โทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kbps ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น

Router (เราท์เตอร์) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ 3 หรือเลเยอร์เครือข่าย Router จะฉลาดกว่า Hub และ Switch
 
 
 
 
 
Router จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนด หรือเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป ใน Router จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็กเก็ต เรียกว่า Routing Table (เราติ้งเทเบิ้ล) หรือ ตารางการจัดเส้นทาง ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่ Router ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้อง Router ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้

Bridge

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในเครือข่ายเพื่อต่อเครือข่ายภายใน (แม้ว่าจะใช้สายหรือโปรโตคอลในเครือข่ายที่ต่างกัน) เข้าด้วยกันเพื่อให้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ บริดจ์จะทำงานอยู่ในดาต้าลิงก์เลเยอร์ตามมาตรฐานของการสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ของ International Organization’s Standards Open Systems Interconnection (ISO/OSI) บริดจ์ทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่าง 2 เครือข่าย ด้วยการอ่านตำแหน่งของข้อมูลทุกแพคเกตที่ได้รับ
 
 
 

Repeater คืออะไร

1) ในเครือข่ายระบบโทรคมนาคม repeater เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) หรือ Optical transmission เพื่อขยายสัญญาณแล้วส่งต่อไปยังขาต่อไปของตัวกลม Repeater เหนือกว่า attenuation เนื่องจากปราศจากผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการสูญเสียในสายส่ง ชุดของ Repeater ทำให้มีความเป็นไปได้ในการขยายสัญญาตลอดระยะทาง Repeater ใช้เซกเมนต์ในการติดต่อภายในของ LAN เพื่อใช้ในการเพิ่มและขยายการส่งของเครือข่ายแบบ WAN บนสายหรือไร้สาย
ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสัญญาณ repeater สามารถขจัด "noise" หรือสัญญาณที่ไม่ต้องการ ซึ่งทำได้ในระบบดิจิตอล ในขณะที่สัญญาณแบบอะนาล็อก ใช้การเพิ่มความเข้มแข็งโดยการขยายความสูงคลื่น จึงมีโอกาสที่ทำให้การขยายส่วนของ "Noise" เช่นเดียวกับสารสนเทศ สัญญาณแบบดิจิตอลขึ้นกับการมาหรือไม่มาของความต่างศักย์ ทำให้การกระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าสัญญาณแบบอะนาล็อก
ในระบบสายส่ง repeater เป็นสิ่งธรรมดา ประกอบด้วยวงจรขยาย และคู่ของตัวแปลงสัญญาณ impedance ของสายต้องจับคู่ได้กับการนำเข้าและการส่งออกของ วงจรขยายเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจับคู่ของ impedance จะลดผลสะท้อนของสัญญาณตลอดสาย
ในระบบการสื่อสารแบบไร้สาย repeater ประกอบด้วยวิทยุรับ ตัวขยาย, transmitter, isolator และเสาอากาศ 2 ชุด transmitter จะผลิตสัญญาณบนความถี่ที่ต่างจากสัญญารับ ที่เรียกว่า frequency offset เพื่อป้องกันความเข้มแข็งของสัญญาณ isolator จะเพิ่มการป้องกัน repeater ถ้าอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม เช่น บนอาคารสูง ภูเขา เพื่อความสามารถในการทำงานของเครือข่ายแบบไร้สาย โดยทำให้การสื่อสารมีความกว้างขวางขึ้น
ในระบบเครือข่ายแบบ Fiber optic repeater ประกอบด้วย Photocell ตัวขยาย light-emitting diode (LED) หรือ infrared-emitting diode (IRED) สำหรับแสงหรือสัญญาณ IR ที่ต้องการขยาย repeater ของ fiber optic ทำงานที่ระดับพลังงานที่ต่ำกว่าระบบไร้สาย ทำให้ง่ายกว่าและถูกกว่า แต่การการแบบต้องคำนึงถึงการลด "Noise"
2) Bus repeater เป็นการเชื่อม bus ของคอมพิวเตอร์กับ bus ในคอมพิวเตอร์ตัวอื่น

สายสัญญาณ โดยมีเนื้อหา เกี่ยวกับสายโคแอกเชียล , สายคู่บิดเกลียว , สายไฟเบอร์ออฟติค

สายสัญญาณ
สายโคแอ็กเชียล

สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
สายโคแอกเชียล มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" โครงสร้างของสายประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่น โลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ

 
 
 
ส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดิน ในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็
สามารถแบ่งสายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnet Cable) เป็น
สายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้ กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลัง ลง บริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ใน สายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้าง แข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm สายโคแอ็กซ์แบบหนานี้เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสายโคแอ็กซ์แบบหนานี้จึงสามารถนำ สัญญาณ ได้ไกลกว่าแบบบาง โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร ด้วยความสามารถนี้สายโคแอ็กซ์แบบหนาจึงนิยมใช้ ในการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูล หรือ แบ็คโบน (Backbone) ของเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้สายโคแอ็กซ์แล้ว โดยสายที่นิยมใช้ทำเป็นแบ็คโบน คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป

สายคู่บิดเกลียว


 
 
 
 
เป็นสายชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการนำมาใช้งานตามห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั่วไป รวมทั้งตามสำนักงานต่างๆ สายชนิดนี้ได้ชื่อมาจากลักษณะองค์ประกอบภายในของสาย ที่เป็นสายลวดทองแดงสองเส้นนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดเป็นสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้เป็นเสมือนเกราะสำหรับป้องกันสัญญาณรบกวนทั่วไปได้ในตัวเอง จำนวนรอบหรือความถี่ ในการพันเกลียว เช่น พันเกลียว 10 รอบต่อความยาว 1 ฟุต นั้นมีผลโดยตรงต่อกำลังของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ถ้าจำนวนรอบสูงก็จะทำให้สนามแม่เหล็กมีกำลังแรงขึ้น สามารถป้องกัน สัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น แต่ก็ทำให้สิ้นเปลืองสายมากขึ้น แต่ถ้าจำนวนรอบต่ำ ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กกำลังอ่อน ซึ่งป้องกันสัญญาณรบกวนได้น้อยลงก็ใช้สายเปลืองน้อยลงเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วสายชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสายที่ไม่มีการ พันเกลียวเลยบริเวณแกน (Core) ของสายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดงจำนวนหนึ่ง หรือหลายคู่สาย ห่อหุ้มสายด้วยฉนวนบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร แล้วนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเป็นคู่ ทุกคู่จะถูกห่อหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งรวมกันเป็นสายขนาดใหญ่เพียงสายเดียว สายคู่บิดเกลียวแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
- แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
- แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)

สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูป
 
 
 
รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)

สาย UTP จะมีสายสัญญาณอยู่จำนวน 4 คู่ 8 เส้น ประกอบด้วย
เขียว - ขาวเขียว
ส้ม - ขาวส้ม
น้ำเงิน - ขาวน้ำเงิน
น้ำตาล - ขาวน้ำตาล

ข้อดีของสาย UTP
- ราคาถูก
- ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
- มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก

ข้อเสียของสาย UTP
- ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร)



สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)
สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก
 
 
 
 
รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)

ข้อดีของสาย STP
- ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
- ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ

ข้อเสียของสาย STP
- มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
- ราคาแพงกว่าสาย UTP


สายไฟเบอร์ออฟติค

Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป (CAT5, CAT5e, CAT6, CAT7 เป็นต้น)?Fiber Optic เรียกเป็นภาษาไทยว่า "เส้นใยแก้วนำแสง"
 

 

คุณสมบัติของ Fiber Optic

Fiber Optic ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าเส้นผมของคนเรา
รับส่งสัญญาณได้ระยะไกลมากเป็นกิโลเมตร
ต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือเฉพาะในการเข้าหัวสัญญาณ
ราคาแพงหลายเท่า เมื่อเทียบกับสายแลนประเภท CAT5
Fiber Optic แบ่งออกได้ 2 ประเภท

เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM)
เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)
การนำไปใช้งานของ Fiber Optic

ตึกสูงๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำเป็น Backbone (สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก)
ระบบการรับส่งสัญญาณภาพ วีดีโอ ตามพื้นที่ต่างๆ
การเชื่อมต่อสัญญาณระยะไกล
และอื่นๆ อีกมากมาย